อาหารบำรุงเลือดจาง ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก
4mega2021-05-25T10:05:41+07:00เพราะร่างกายของคนเรามีชีวิตอยู่ได้ด้วยออกซิเจน (Oxygen) ไม่ใช่แค่เรื่องของระบบหายใจเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงระบบเลือดด้วย ดังนั้นหากเกิดความผิดปกติในเลือดอย่างภาวะโลหิตจาง ก็จะส่งผลทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ และมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา โดยสิ่งที่ควรทำคือการพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่า โรคโลหิตจางที่เกิดขึ้นอยู่นั้น มีระดับความร้ายแรงมากน้อยเพียงใด รวมถึงผู้ป่วยจะเป็นต้องใส่ใจดูแลรักษาร่างกายตัวเองในเรื่องอาหารการกิน ด้วยการเลือกรับประทาน อาหารบำรุงเลือดจาง เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาสู่ภาวะปกติ
โรคโลหิตจาง (Anemia) คือสภาวะที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell) น้อยผิดปกติหรือน้อยกว่าเม็ดเลือดขาวจนไม่สมดุลกับปริมาณเลือด ซึ่งการที่ภาวะที่เม็ดเลือดแดงต่ำกว่าเกณฑ์ปกตินี้ จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรืออาจจะส่งผลรุนแรงถึงขั้นหมดสติ อีกทั้งหากในผู้ป่วยที่มีอาการโลหิตจางอยู่ในภาวะที่รุนแรงมาก ก็จะส่งผลกระทบให้การทำงานของหัวใจ โดยหัวใจจะทำงานหนักมากขึ้นจนถึงขั้นล้มเหลวได้ โดยโรคโลหิตจางนี้จะแสดงอาการที่แตกต่างกันในผู้ป่วยขึ้นอยู่กับระดับความร้ายแรง สาเหตุที่โรคโลหิตจางส่งผลให้ร่างกายทำงานหนักผิดปกตินั้นเนื่องมาจาก โดยปกติแล้วเซลล์เม็ดเลือดแดงจะประกอบไปด้วยฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีหน้าที่ไปการลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาทิ เซลล์และเนื้อเยื่อ แต่เมื่อเม็ดเลือดแดงไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ เพราะร่างกายอยู่ในภาวะเลือดจาง กลไกร่างกายก็จะแสดงอาการผิดปกติต่าง ๆ ออกมาตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น
ภาวะเลือดจางนั้นมาจากการที่ร่างกายขาดสารอาหารจำเป็นบางอย่าง เช่น วิตามินบี 12, วิตามินเอ, ธาตุเหล็ก, กรดโฟลิก (Folic Acid) ฯลฯ หรือในบางครั้งอาจเป็นผลต่อเนื่องมาจากการที่ร่างกายมีโรคประจำอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว อาทิ โรคไตวายเรื้อรังที่ส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน การติดเชื้อในไขกระดูก โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น นอกจากนี้การที่ร่างกายอยู่ในภาวะเสียเลือดอย่างเฉียบพลันก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้เช่นเดียวกัน
สัญญาณเบื้องต้นที่บ่งบอกว่าร่างกายกำลังเผชิญกับโรคโลหิตจาง
- ไม่ค่อยมีสมาธิ สมองทำงานช้าลง
- มีอาหารเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- มีอาการมึนเวียนศีรษะ
- มีอาการอยากอาหารแบบผิดปกติ
- มีอาการท้องผูก
- การทำงานของหัวใจล้มเหลว
แหล่ง อาหารบำรุงเลือดจาง เพื่อร่างกายที่แข็งแรง
ผู้ป่วยโรคโลหิตจางจำเป็นที่จะต้องเลือกบริโภคอาหารบำรุงเลือดจางเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างเม็ดเลือดได้อย่างปกติ และเป็นการค่อย ๆ เพิ่มประสิทธิภาพในระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย โดยแหล่งอาหารบำรุงเลือดจางนั้น มีอยู่ในอาหารหลากหลายประเภท โดยเรามีลิสต์ตัวอย่างสารอาหารบำรุงเลือดจางที่แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ดังต่อไปนี้
สารอาหารบำรุงเลือดจางจากธาตุเหล็ก
- อาหารทะเล อาทิ ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน
- เนื้อวัว
- เครื่องในสัตว์ อาทิ ตับ
- ธัญพืช
สารอาหารบำรุงเลือดจางจากวิตามินบี 12
- ผลิตภัณฑ์จากนมหรือชีส
- ไข่
- อาหารทะเล อาทิ ปลาแซลมอน หอย
สารอาหารบำรุงเลือดจางจากวิตามินเอ
- น้ำมันตับปลา
- ไข่แดง
- ผักและผลไม้สีส้ม อาทิ แครอท ฟักทอง แคนตาลูป
- ผักสีเขียว อาทิ ผักโขม คะน้า ผักกาดหอม
นอกเหนือจากแหล่งอาหารประเภทต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไปข้างต้น ยังมีสารอาหารเสริมอีกหนึ่งประเภทที่เป็นอาหารบำรุงเลือดจาง คือเลือดจระเข้ หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าเลือดจระเข้คือแหล่งสารอาหารชั้นเลิศ ที่เหมือนเป็นศูนย์กลางของสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อผู้ป่วยภาวะโลหิตจาง โดยในเลือดจระเข้นั้นมีประสิทธิภาพหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการต้านอักเสบ ช่วยเพิ่มออกซิเจนในเลือด เนื่องจากฮีโมโกลบินในเลือดจระเข้นั้นสามารถกักเก็บปริมาณของออกซิเจนได้มากกว่ามนุษย์ถึง 100 เท่า จึงมีส่วนช่วยในกระบวนการฟื้นฟูเม็ดเลือดแดงที่เสื่อมสภาพ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับระบบเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย และช่วยทำให้ระบบเลือดกลับมาทำงานได้อย่างสมบูรณ์อีกครั้ง และนอกเหนือจากการรับประทานอาหารบำรุงเลือดจางและเลือดจระเข้แล้ว ทุก ๆ คนควรที่จะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อช่วยให้รู้ทัน และสามารถป้องกันภาวะรุนแรงของโรคโลหิตจางที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการระบบการไหลเวียนของเลือดได้ที่นี่
References:
- https://www.vichaiyut.com/th/health/informations/5-อาหารบำรุงเลือด/
- https://www.pobpad.com/โลหิตจางกับอาหารที่ควร
- https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/936/Anemia
- https://www.phyathai.com/article_detail/3319/th/ลุกขึ้นเร็วแล้วมึน_ซีด_เพลีย_เช็กให้ดี!_ว่านี่ไม่ใช่อาการเตือนจากภาวะโลหิตจาง
- https://www.nestle.co.th/th/nhw/3e/eat/foods-vitamin-a#:~:text=แหล่งวิตามินเอที่สำคัญ,กว่าว่ามีอะไรบ้าง
- http://tsh.or.th/Knowledge/Details/54
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/319457
ใส่ความเห็น